1.
ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ค่านิยมสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เป็นคุณธรรมประจำใจที่จัดทำขึ้นให้เจ้าหน้าที่ของ
รัฐพึงยึดถือเพื่อสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่
ให้งานภาครัฐบังเกิดผลตามแนวทางของแผน
ปฏิรูประบบบริหารภาครัฐที่มุ่งสร้างคุณประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนและประเทศชาติมี
5 ประการดังนี้
1)
กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Moral Courage)
โดยยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม ความชอบธรรม
ความเสียสละ หลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ
ไม่โอนอ่อนตามอิทธิพล
2) ซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบ (Integrity
& Responsibility) ปฏิบัติ
หน้าที่อย่างตรงไปตรงมา
แยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน
และมีความรับผิดชอบต่องานใน หน้าที่ ต่อผลงาน
ต่อองค์การและต่อประชาชน
3) โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Transparency &
Accountability) ปรับปรุง
กลไกและวิธีการทำงานให้มีความชัดเจน โปร่งใส
สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ และพร้อม
เปิดเผยข้อมูลอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
4) ไม่เลือกปฏิบัติ (Nondiscrimination)
ให้บริการโดยเสมอภาค เป็นธรรม เน้นความสะดวก
รวดเร็ว ประหยัด และถูกต้อง ด้วยความมีน้ำใจ
เมตตา
5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result Orientation)
โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างมี ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลงานแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์
เกิดผลดีต่อหน่วยงานและส่วนรวม โดย
ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
2. คุณธรรม และจริยธรรม
1) ซื่อสัตย์ มีความซื่อสัตย์
สุจริต
ยึดหลักคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ตรงต่อเวลา
และอุทิศเวลาให้ทางราชการ
2) รับผิดชอบ มีความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
3) คิดสร้างสรรค์ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4) มีจรรยา ประพฤติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
ใฝ่หาความรู้ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
5) สามัคคี ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ
เอื้อเฟื้อแก่เพื่อนร่วมงาน และประชาชนทั่วไป
ยึดหลักความมีส่วนร่วม เน้นการทำงานเป็นทีม
สร้างความสามัคคี
3. หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good
Governance) ทั้ง 6 ประการ ได้แก่
1) หลักนิติธรรม การใช้กฎ
ระเบียบ ที่เป็นธรรม เป็นที่ยอมรับได้
ไม่ตามกระแสหรือ อำนาจตัวบุคคล และเสมอภาค
2) หลักคุณธรรม การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม
ประพฤติเป็นตัวอย่างแก่สังคม ด้วยความซื่อสัตย์
จริงใจ ขยัน อดทน
3) หลักความโปร่งใส การทำงานโปร่งใส
เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ตรงไปตรงมา
ตรวจสอบได้
4) หลักความมีส่วนร่วม
การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม รับรู้
เสนอความเห็น
5) หลักความรับผิดชอบ ตระหนักในสิทธิหน้าที่
มีความสำนึกในความรับผิดชอบต่อ สังคม
มุ่งแก้ไขปัญหา กล้ายอมรับผลการกระทำของตน
6) หลักความคุ้มค่า
บริหารจัดการและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
และเกิดประโยชน์ สูงสุด